วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week4: โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

 
โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
 
ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาใดๆที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่นๆที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกันยกตัวอย่างเช่น HTML เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรม หรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรม
 
        ภาษาโปรแกรมเป็นสัญกรณ์อย่างหนึ่งสำหรับการเขียนโปรแกรม ซึ่งมีข้อกำหนดต่าง ๆ เกี่ยวกับการคิดคำนวณหรือขั้นตอนวิธี ผู้แต่งตำราบางคน (ไม่ใช่ทั้งหมด) ได้ให้คำจำกัดความของ "ภาษาโปรแกรม" อย่างเข้มงวดว่า หมายถึงภาษาที่สามารถแสดงออกด้วยขั้นตอนวิธีที่เป็นไปได้ทั้งหมด คุณลักษณะมักเป็นปัจจัยพิจารณาที่สำคัญสำหรับคำถามว่า อะไรที่ถือว่าเป็นภาษาโปรแกรม รวมทั้งปัจจัยต่อไปนี้
  • การทำงานและเป้าหมาย ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือภาษาชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่กระทำการคิดคำนวณหรือขั้นตอนวิธีบางอย่าง  และควบคุมอุปกรณ์ภายนอกที่เป็นไปได้อาทิ เครื่องพิมพ์ เครื่องขับจานบันทึกหุ่นยนต์  และอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมโพสต์สคริปต์มักถูกสร้างโดยโปรแกรมอื่นเพื่อควบคุมเครื่องพิมพ์หรือจอภาพ ภาษาโปรแกรมโดยนัยทั่วไปมากขึ้น อาจใช้พรรณนาการคิดคำนวณบนเครื่องจักรบางชนิด ซึ่งอาจเป็นเครื่องจักรนามธรรมก็ได้ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ข้อกำหนดภาษาโปรแกรมที่สมบูรณ์ จะต้องมีการพรรณนาลักษณะเครื่องจักรหรือหน่วยประมวลผลสำหรับภาษานั้น ซึ่งอาจเป็นการพรรณนาในอุดมคติก็ได้  ในทางปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ ภาษาโปรแกรมเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ จึงทำให้ภาษาโปรแกรมต่าง ๆ โดยปกติถูกกำหนดและศึกษาในแนวทางนี้ ภาษาโปรแกรมต่างจากภาษาธรรมชาติตรงที่ ภาษาธรรมชาติใช้แสดงปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเพียงเท่านั้น ในขณะที่ภาษาโปรแกรมทำให้มนุษย์สื่อสารชุดคำสั่งแก่เครื่องจักรได้อีกด้วย
  • แนวคิดนามธรรม ภาษาโปรแกรมโดยปกติจะมีภาวะนามธรรม สำหรับนิยามและจัดดำเนินการโครงสร้างข้อมูล หรือควบคุมกระแสการทำงาน ความจำเป็นในทางปฏิบัติที่ภาษาโปรแกรมสนับสนุนภาวะนามธรรมอย่างเพียงพอ แสดงออกมาด้วยหลักการที่เป็นนามธรรม หลักการนี้บางครั้งก็คิดค้นขึ้นเพื่อเป็นข้อเสนอแนะให้โปรแกรมเมอร์สามารถใช้ภาวะนามธรรมเช่นนั้นได้อย่างถูกต้อง
  • พลังในการแสดงออก ทฤษฎีการคำนวณแบ่งประเภทภาษาต่าง ๆ ตามการคิดคำนวณโดยความสามารถในการแสดงออก ภาษาทัวริงบริบูรณ์ทุกภาษาสามารถทำให้เกิดผลได้ด้วยเซตของขั้นตอนวิธีที่เหมือนกัน ภาษาเอสคิวแอลและภาษาแชริตีเป็นตัวอย่างของภาษาที่ไม่เป็นทัวริงบริบูรณ์ แต่ก็ยังเรียกว่าเป็นภาษาโปรแกรม
ภาษามาร์กอัปอย่างเช่น เอกซ์เอ็มแอล เอชทีเอ็มแอล หรือทร็อฟฟ์ เป็นต้น ซึ่งถูกนิยามว่าเป็นข้อมูลเชิงโครงสร้าง โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นภาษาโปรแกรม  อย่างไรก็ตาม ภาษาโปรแกรมอาจจะใช้วากยสัมพันธ์เหมือนภาษามาร์กอัป ถ้าอรรถศาสตร์เชิงคำนวณมีการนิยามไว้ ตัวอย่างเช่น เอกซ์เอสแอลที ซึ่งเป็นภาษาย่อยของเอกซ์เอ็มแอลที่เป็นทัวริงบริบูรณ์ ยิ่งไปกว่านั้น ภาษาลาเทกซ์ซึ่งตามปกติใช้สำหรับสร้างโครงสร้างเอกสาร แต่ก็มีเซตย่อยของทัวริงบริบูรณ์อยู่ด้วย
วลี ภาษาคอมพิวเตอร์ บางครั้งก็ใช้แทนความหมายของภาษาโปรแกรม  อย่างไรก็ตาม ผู้แต่งตำราแต่ละคนก็ใช้วลีทั้งสองรวมถึงขอบเขตที่ชัดเจนในแนวทางที่ต่างกัน แนวคิดหนึ่งอธิบายว่า ภาษาโปรแกรมเป็นเซตย่อยของภาษาคอมพิวเตอร์ ในทำนองนี้ ภาษาที่ใช้ในการคิดคำนวณอันมีเป้าหมายต่างกัน ที่แสดงออกเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยนัยทั่วไปคือภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกเลือกขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น ภาษามาร์กอัปบางครั้งก็ถูกพูดถึงว่าเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อเน้นย้ำว่ามันไม่ได้ออกแบบมาเพื่อเขียนโปรแกรม  แนวคิดอีกอย่างหนึ่งอธิบายว่า ภาษาโปรแกรมคือโครงสร้างเชิงทฤษฎีสำหรับการเขียนโปรแกรมให้แก่เครื่องจักรนามธรรม และภาษาคอมพิวเตอร์คือเซตย่อยของสิ่งดังกล่าวที่ทำงานบนคอมพิวเตอร์ในทางกายภาพ ซึ่งมีทรัพยากรฮาร์ดแวร์จำกัด  จอห์น ซี. เรย์โนลด์ เน้นว่า ภาษาข้อกำหนดรูปนัย (formal specification) มีลักษณะของภาษาโปรแกรมมากพอ ๆ กับภาษาที่ตั้งใจให้กระทำการ เขายังให้เหตุผลด้วยว่า รูปแบบรับเข้าเชิงข้อความหรือแม้แต่เชิงกราฟิกที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของคอมพิวเตอร์ ก็ถือเป็นภาษาโปรแกรมเช่นกัน ถึงแม้ข้อเท็จจริงคือสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ทัวริงบริบูรณ์ และให้ความเห็นอีกว่า การมองข้ามมโนทัศน์ของภาษาโปรแกรมคือสาเหตุของความบกพร่องมากมายในรูปแบบรับเข้า
ลักษณะของภาษาโปรแกรม
ภาษาโปรแกรมแต่ละภาษาสามารถพิจารณาว่าเป็นเซตของข้อกำหนดอย่างเป็นทางการของวากยสัมพันธ์ ศัพท์ และความหมาย
ข้อกำหนดเหล่านี้มักรวมถึง:
  • ข้อมูล และโครงสร้างข้อมูล
  • คำสั่ง และลำดับการทำงาน
  • ปรัชญาในการออกแบบ
  • สถาปัตยกรรมของภาษา
ภาษาส่วนใหญ่ที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง หรือมีการใช้งานในระยะเวลาพอสมควร จะมีกลุ่มทำงานเพื่อสร้างมาตรฐาน ซึ่งมักจะมีการพบปะกันเป็นระยะๆ เพื่อสร้างและจัดพิมพ์นิยามอย่างเป็นทางการของภาษา รวมถึงการปรับปรุงเพิ่มเติมภาษาด้วย
ชนิดข้อมูล
       การจัดเก็บข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์สมัยใหม่นั้น ภายในแล้วจะเก็บเป็นตัวเลขศูนย์และหนึ่ง (เลขฐานสอง) อย่างไรก็ตาม ข้อมูลมักถูกแทนสารสนเทศในชีวิตประจำวันเช่น ชื่อบุคคล เลขบัญชี หรือผลการวัด ดังนั้นข้อมูลแบบฐานสองจะถูกจัดการโดยภาษาโปรแกรม เพื่อทำให้รองรับการจัดเก็บข้อมูลที่ซับซ้อนขึ้นเหล่านี้
ระบบที่ข้อมูลถูกจัดการภายในโปรแกรมเรียกว่าชนิดข้อมูลของภาษาโปรแกรม การออกแบบและศึกษาเกี่ยวกับชนิดข้อมูลเรียกว่าทฤษฎีชนิด ภาษาโปรแกรมสามารถจัดออกได้เป็นกลุ่มภาษาที่มี การจัดชนิดแบบสถิตย์ และภาษาที่มี การจัดชนิดแบบพลวัต
โครงสร้างข้อมูล
       โครงสร้างข้อมูล คือรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูล ที่เกิดจากการนำเอาตัวแปรประเภทต่าง ๆ กันมาประยุกต์รวมกันเพื่อให้ง่ายต่อการที่จะนำไปใช้ ในalgorithm ต่าง ๆ
 
 
ภาษา C
                ภาษาซี เป็นการเขียนโปรแกรมพื้นฐาน สามารถประยุกต์ใช้กับงานต่างๆได้มากมาย ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ทางคณิตศาสตร์ โปรแกรมทางไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ไมโครคอนโทรลเลอร์ เช่น โปรแกรม MATLAB (The MathWorks - MATLAB and Simulink for Technical Computing) ซึ่งเวลาใช้สามารถพิมพ์ชุดคำสั่งภาษาซีเพิ่มเข้าไปในโปรแกรมคำนวณทางคณิตศาสตร์ ประมวลผลทางสัญญาณไฟฟ้า ทางไฟฟ้าสื่อสารก็ได้ ทำให้ประสิทธิภาพของงานที่ทำดียิ่งขึ้นครับ และยังมีโปรแกรมอื่นๆ ที่มีภาษาซีประยุกต์ใช้กันอีกมากมาย ไม่สามารถนำมากล่าวได้หมด ถึงแม้ว่าภาษาซีอาจจะดูเก่าไปสำหรับคนอื่น แต่ผมว่าควรศึกษาภาษาซีที่เป็นรากฐานของภาษาอื่นๆเสียก่อน เพราะภาษา C++ จาวา (Java) ฯลฯ และ ระบบลีนุกซ์ เป็นระบบที่ถูกพัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ซึ่งก็เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ภาษาคู่บารมีของระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์มีการพัฒนามาจากภาษาซีเช่นกัน
                ภาษาซีเป็นภาษาที่บางคนเรียกว่าภาษาระดับกลาง คือไม่เป็นภาษาระดับต่ำแบบแอสเซมบลีหรือเป็นภาษาสูงแบบ เบสิค โคบอล ฟอร์แทรน หรือ ปาสคาล เนื่องจากคุณสามารถจะจัดการเกี่ยวกับเรื่องของพอยน์เตอร์ได้อย่างอิสระ และบางทีคุณก็สามารถควบคุมฮาร์ดแวร์ผ่านทาง ภาษาซี ได้ราวกับคุณเขียนมันด้วยภาษาแอสเซมบลี ด้วยข้อดีเหล่านี้เองทำให้โปรแกรมที่ถูกเขียนด้วยภาษาซีมีความเร็วในการปฏิบัติงานสูงกว่าภาษาทั่วๆไป แต่ก็ต้องแลกกับการเรียนรู้และการฝึกฝนอย่างหนัก
ประวัติภาษาซี
                ภาษาซีเป็นภาษาที่ถือว่าเป็นทั้งภาษาระดับสูงและระดับต่ำ ถูกพัฒนาโดยเดนนิส ริดชี (Dennis Ritche) แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell Laboratories) ที่เมอร์รีฮิล มลรัฐนิวเจอร์ซี่ โดยเดนนิสได้ใช้หลักการของภาษา บีซีพีแอล (BCPL : Basic Combine Programming Language)  ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยเคน ทอมสัน (Ken Tomson) การออกแบบและพัฒนาภาษาซีของเดนนิส ริดชี มีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมปฏิบัติการระบบยูนิกซ์ และได้ตั้งชื่อว่า ซี (C) เพราะเห็นว่า ซี (C) เป็นตัวอักษรต่อจากบี (B) ของภาษา BCPL ภาษาซีถือว่าเป็นภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำ ทั้งนี้เพราะ ภาษาซีมีวิธีใช้ข้อมูลและมีโครงสร้างการควบคุมการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างเดียวกับภาษาของโปรแกรมระดับสูงอื่นๆ จึงถือว่าเป็นภาษาระดับสูง ในด้านที่ถือว่าภาษาซีเป็นภาษาระดับต่ำ เพราะภาษาซีมีวิธีการเข้าถึงในระดับต่ำที่สุดของฮาร์ดแวร์ ความสามารถทั้งสองด้านของภาษานี้เป็นสิ่งที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ความสามารถระดับต่ำทำให้ภาษาซีสามารถใช้เฉพาะเครื่องได้ และความสามารถระดับสูง ทำให้ภาษาซีเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์ ภาษาซีสามารถสร้างรหัสภาษาเครื่องซึ่งตรงกับชนิดของข้อมูลนั้นได้เอง ทำให้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีที่เขียนบนเครื่องหนึ่ง สามารถนำไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่งได้ ประกอบกับการใช้พอยน์เตอร์ในภาษาซี นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์
วิวัฒนาการของภาษาซี
- ค.ศ. 1970 มีการพัฒนาภาษา B โดย Ken Thompson ซึ่งทำงานบนเครื่อง DEC PDP-7 ซึ่ง ทำงานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ไม่ได้ และยังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่ (ภาษา B สืบทอดมาจาก ภาษา BCPL ซึ่งเขียนโดย Marth Richards)
- ค.ศ. 1972 Dennis M. Ritchie และ Ken Thompson ได้สร้างภาษา C เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ภาษา B ให้ดียิ่งขึ้น ในระยะแรกภาษา C ไม่เป็นที่นิยมแก่นักโปรแกรมเมอร์โดยทั่วไปนัก
- ค.ศ. 1978 Brian W. Kernighan และ Dennis M. Ritchie ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า The C Programming Language และหนังสือเล่มนี้ทำให้บุคคลทั่วไปรู้จักและนิยมใช้ภาษา C ในการเขียน โปรแกรมมากขึ้น
- แต่เดิมภาษา C ใช้ Run บนเครื่องคอมพิวเตอร์ 8 bit ภายใต้ระบบปฏิบัติการ CP/M ของ IBM PC ซึ่งในช่วงปี ค. ศ. 1981 เป็นช่วงของการพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ภาษา C จึงมี บทบาทสำคัญในการนำมาใช้บนเครื่อง PC ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และมีการพัฒนาต่อมาอีกหลาย ๆ ค่าย ดังนั้นเพื่อกำหนดทิศทางการใช้ภาษา C ให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน ANSI (American National Standard Institute) ได้กำหนดข้อตกลงที่เรียกว่า 3J11 เพื่อสร้างภาษา C มาตรฐานขึ้นมา เรียนว่า ANSI C
- ค.ศ. 1983 Bjarne Stroustrup แห่งห้องปฏิบัติการเบล (Bell Laboratories) ได้พัฒนาภาษา C++ ขึ้นรายละเอียดและความสามารถของ C++ มีส่วนขยายเพิ่มจาก C ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ แนวความคิดของการเขียนโปรแกรมแบบกำหนดวัตถุเป้าหมายหรือแบบ OOP (Object Oriented Programming) ซึ่งเป็นแนวการเขียนโปรแกรมที่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมขนาดใหญ่ที่มีความสลับซับซ้อนมาก มีข้อมูลที่ใช้ในโปรแกรมจำนวนมาก จึงนิยมใช้เทคนิคของการเขียนโปรแกรมแบบ OOP ในการพัฒนาโปรแกรมขนาดใหญ่ในปัจจุบันนี้
รูปแบบของการเขียนโปรแกรม
 ชนิดของข้อมูล  ประกอบไปด้วย
1.    character (char) ใช้ 1 byte บน Dos มีค่า -128 ถึง127 นิยมใช้เก็บตัวอักษร 1 ตัวอักษร
2.    integer (int) ใช้ 2 byte มีค่า -32768 ถึง 32767 และยังมี long ซึ่งคล้าย integer แต่เก็บด้วย ช่วงตัวเลขที่ยาวกว่าจึงกินเนื้อที่ ถึง 4 byte
3.    float ใช้ 2 byte ใช้เก็บตัวเลขทศนิยม และยังมี double ซึ่งคล้าย float แต่เก็บด้วยช่วงตัวเลขที่ยาวกว่าจึงกินเนื้อที่ถึง 4 byte
4.    ในภาษา C จะไม่มีชนิดข้อมูลเป็น string แต่จะใช้สายของอักษร หรือ Array ของ Char แทนความจริงแล้ว ชนิดของข้อมูลยังสามารถจำแนกไปได้อีกมาก แต่ในที่นี้ขอแนะนำเพียงเท่านี้ก่อน ก็เพียงพอ
Derive Data Type - Array
- recore [structure]
                ที่กล่าวมาข้างต้นว่าถ้าพบข้อความ เช่น "This is a book" ในการโปรแกรมทั้งข้อความนี้เราเรียกว่า string และเนื่องจากในภาษา C ไม่มีตัวแปร String ทำให้เราต้องใช้ Array มาจัดการ นั่นคือเมื่อ C มองเห็น string จะจอง พื้นที่ในหน่วยความจำเป็น Array ของ Character บางคนอาจจะสงสัยว่าการจองพื้นที่ในหน่วยความจำของ Array เป็นอย่างไร ทำไมต้องจอง ก็ขอบอกว่า เวลาที่เราประกาศตัวแปรชนิดใดก็ตาม C ก็จะทำการไปหาเนื้อที่ในหน่วยความจำ ขนาดเท่าๆ กับ ชนิดข้อมูลที่เรากำหนดเอาไว้ ซึ่ง ถ้าเราประกาศตัวแปร 2 ตัว ไม่จำเป็นว่าตัวแปรสองตัวนี้จะถูกจองตรงเนื้อที่ที่มันติดกัน แต่ ถ้าเราจองเนื้อที่เป็นแบบ array นั่นหมายความถึงว่า ทุกๆ สมาชิกที่เป็นสมาชิกของ array จะถูกจองเนื้อที่ติดๆกันไป ตามขนาดความยาวของ array นั้น นั่นเอง ถ้าใครยังไม่เข้าใจก็เดี๋ยวจะมีการพูดถึง array อีกในตอนหลังตอนนี้ มาดูก่อนว่า ถ้าเราจะเก็บ string ที่มีข้อความว่า TOUCHAKORN จะต้องเก็บอย่างไร

T

O

U

C

H

A

K

O

R

N

NULL Character
การประกาศตัวแปร
ในภาษา C หากต้องการใช้ตัวแปร จะต้องทำการประกาศตัวแปรไว้ที่ส่วนบนก่อนที่จะถึงบรรทัดที่เป็นประโยคคำสั่ง การประกาศตัวแปรจะเป็นการบอก compiler ว่าตัวแปรของเรานั้นเป็นตัวแปรชนิดใด

Datatype

Keyword

character
integer
float
double

Char
int
float
double
รูปแบบของการประกาศคือ

Keyword list of variable ;
ตัวอย่างเช่น เราจะประกาศตัวแปรชื่อ chr1 และ chr2 เป็นตัวแปรชนิด Character เราจะใช้ว่า

char chr1 , chr2 ;
ข้อสังเกต เราจะเห็นได้ว่าหลังการประกาศตัวแปรจะมีเครื่องหมาย ; แสดงว่าการประกาศตัวแปรก็เป็น C Statement (คำสั่ง) เช่นกัน
ทดลองสังเกตตัวอย่างต่อไปนี้
                #include< stdio.h>          /* my second program */
                main()
                {              int First , Second , Sum;         /* variable declaration */
                                First = 10 ;
                                Second = 20 ;
                                Sum = First + Second ;
                                printf( " The sum of %d and %d is %d " , First , Second , Sum );
                }
                ดูโปรแกรมแล้วพบว่านี่คือโปรแกรมที่จะทำการบวกเลข 2 จำนวนคือ 10 และ 20 โดย การเก็บค่า 10 เอาไว้ในตัวแปรชื่อ First และเก็บค่า 20 ไว้ในตัวแปร Second จากนั้นก็ทำการบวกทั้งสองค่าโดยเก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ในตัวแปรที่ชื่อว่า Sum จากนั้นทำการ แสดงค่าของทั้ง 3 ตัวแปรออกมาทางจอภาพ
อธิบายโปรแกรมโดยละเอียด จะได้ว่า
- ที่บรรทัด int First , Second , Sum ; นั้นเราได้สั่งให้มีการประกาศตัวแปรชนิด integer 3 ตัวคือ First , Second และ Sum
- บรรทัดถัดมา คือ First = 10 ; เป็นการกำหนดค่า จำนวนเต็ม 10 ให้กับตัวแปรที่เป็นจำนวนเต็ม (integer) ส่วนนี้สำคัญคือ เรากำหนดตัวแปรเป็น integer นั่นก็คือ ตัวแปรชนิดนี้จะเก็บเฉพาะค่าที่เป็นจำนวนเต็มเท่านั้น หากเราใส่ค่า 10.2 ให้กับตัวแปร ตัวแปรนั้นก็ยังคงเก็บเลขจำนวนเต็มอยู่เสมอ
- บรรทัดถัดมา คือ Second = 20 ; ก็คือการกำหนดค่า 20 ให้กับตัวแปร Second
- บรรทัดถัดมา คือ Sum = First + Second ; คือการนำค่าของ 2 ตัวแปรมาบอกกันและเก็บไว้ที่ตัวแปร Sum
- บรรทัดต่อมาคือ printf( " The sum of %d and %d is %d " , First , Second , Sum ); จะอธิบายละเอียดในหัวข้อถัดไป
 ฟังค์ชัน printf()  มีรูปแบบดังนี้

printf ( " control string " , variable list );
โดย control string อาจจะเป็นตัวอักษร ข้อความ หรือ ตัวกำหนดชนิดข้อมูล (Specifier) ซึ่งใช้กำหนดชนิดข้อมูลที่จะพิมพ์ ตัวกำหนดข้อมูลที่ควรทราบมีดังนี้

ตัวกำหนดชนิดข้อมูล

ความหมาย

%c
%d
%f
%lf
%s
%%

แทนตัวอักษร
แทนเลขจำนวนเต็ม
แทนเลขทศนิยม ( float )
แทนเลขทศนิยม (double)
แทนสตริงก์
แทนเครื่องหมาย %
ส่วน variable list ก็คือ list ของตัวแปร จากตัวอย่าง
printf( " The sum of %d and %d is %d " , First , Second , Sum );
พบว่า เรามี ตัวกำหนดชนิดข้อมูลคือ %d ซึ่งแทนชนิดข้อมูลที่เราจะพิมพ์คือ integer ซึ่ง %d ตัวแรกจะใช้แทนค่าของ First ตัวที่สองจะใช้แทนค่าของ Second ตัวที่สามจะใช้แทนค่าของ Sum
จากโปรแกรมข้างต้นผล run ที่ออกมาจะปรากฎดังนี้
The sum of 10 and 20 is 30
นอกจากนี้เรายังพบว่าเรายังสามารถกำหนดลักษณะการพิมพ์ได้ดังต่อไปนี้
                #include <stdio.h>
                main()
                {              int a;
                                float b ;
                                a = 50 ;
                                b = 10.583 ;
                                printf ( " a = %d \n " , a ) ;
                                printf ( " b = %f \n " , b ) ;
                                printf ( " a = %05d \n " , a );
                                printf ( " b = %10.4f \n " , b );
                                printf ( " b = % -10.4f \n " , b );
                }
พบว่า ผล run ที่ได้คือ
a = 50
b = 10.583000 พบว่าแสดงทศนิยม 6 หลัก เป็นปกติ
a = 00050 พบว่า a มีความยาว 5 ตำแหน่ง นับจากซ้าย
b = ___10.5830 พบว่า เราสั่งให้ %10.4 คือ การสั่งให้มีความยาวทั้งหมด 10 ตำแหน่ง รวมด้วยการมีทศนิยม 4 ตำแหน่ง
b = 10.5830 คล้ายกับบรรทัดก่อนหน้าแต่เราใส่เครื่องหมาย - เพื่อให้มันพิมพ์ชิดซ้าย
Input command
คำสั่งในการ input ที่ใช้ง่ายๆก็คือ คำสั่ง
                scanf(" ตัวกำหนดชนิดข้อมูล",&ตัวแปร);
ยกตัวอย่างเช่น ต้องการรับค่า จำนวนเต็ม มาใส่ไว้ในตัวแปรที่ชื่อ number จะสั่งดังนี้
                int number;
                scanf("%d",&number); สำคัญอย่าลืมเครื่องหมาย &
และหากรับตัวแปร 2 ตัว โดย รับค่า จำนวนเต็มไว้ในตัวแปรชื่อ num1 และ รับค่า จำนวนจริง ไว้ในตัวแปร num2 ทำได้โดย
                int num1,num2;
                scanf("%d %f",&num1,&num2);
หากต้องการรับข้อความ Touchakorn ซึ่งก็คือ 10 character ทำได้โดย
                char name[10];
                scanf("%c",name);
 สังเกตไหมครับว่าที่คำสั่ง scanf อันหลังนี้ตรงตัวแปร name ทำไมไม่มีเครื่องหมาย & ปรากฎอยู่ นั่นก็เป็นเพราะว่าเราได้ทำการกำหนดตัวแปร name ไว้เป็นตัวแปร array ชนิด character ดังนั้นการที่เราเรียกชื่อตัวแปรที่เป็น array นั่นก็หมายความว่าเราได้ทำการเรียก"ที่อยู่" ของตัวแปรกลุ่มนั้นไว้แล้วจึงไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมาย & แต่อย่างใด นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า เมื่อเราเรียกคำสั่ง scanf ตัวคำสั่งนี้จะทำการยัดค่าที่ผู้ใช้ ใส่ให้เก็บไว้ในตัวแปรตามที่อยู่ที่ให้ไว้นั่นคือ
                scanf("%d",&number);
ก็เป็นการยัดค่าตัวแปร integer (รู้ได้จาก %d) ไว้ในที่อยู่(&)ของตัวแปรที่ชื่อ number
และเรายังรู้อีกว่าโดยปกติการกำหนดค่าให้กับตัวแปรที่เป็น array นั้นจำเป็นจะต้องมีการใส่ index ให้กับ ตัวแปรนั้นเสมอว่า จะเก็บไว้ใน array ช่องใด เช่นสมมติ ตัวแปรชนิด integer ชื่อ num[7] คือตัวแปรที่ชื่อ num ที่มีช่องสมาชิกย่อยทั้งหมด7ช่องด้วยกันโดย ตัวแปร num จะมีโครงสร้างดังนี้

num[0]

num[1]

num[2]

num[3]

num[4]

num[5]

num[6]
                และหากเราต้องการจะกำหนดค่าให้กับตัวแปร num ในแต่ละช่องสามารถทำได้โดย num[0]=10; หรือ num[1]=20; เป็นต้น นั่นคือการเขียนชื่อตัวแปรแล้วตามด้วย index ของตัวแปรนั้นว่าต้องการจะกำหนดค่า ของเราไว้ในช่องใดของ array num นั้น และที่เราต้องรู้อีกอย่างก็คือ หากเราเรียกชื่อตัวแปร array เฉยๆ โดยไม่ได้ทำการใส่ index ให้กับตัวแปรนั้นเช่นเราเรียก num นั่นจะกลายเป็นการชี้ไปยังที่อยู่ของตัวแปร num ที่อยู่ใน หน่วยความจำของเครื่อง ตอนนี้อยากให้มองหน่วยความจำ เป็นช่องๆที่เรียงติดกันยาวมาก และเดิมทีการที่เราประกาศตัวแปร ก็คือการที่ตัวชี้ชี้ลงไปยังช่องๆในหน่วยความจำนั้นอย่างสุ่มคือ เราก็ไม่รู้ว่าเมื่อเราประกาศตัวแปรแล้วมันจะไปชี้ที่ใดของหน่วยความจำมันจะทำการจองจำนวนช่องตามชนิดของตัวแปร เช่นถ้าประกาศตัวแปรชนิด integer มันอาจจะจองสัก 2 ช่องที่ติดกัน ถ้าประกาศตัวแปร double มันอาจจะจองสัก 4 ช่องติดกันเป็นต้น และหากเราจองตัวแปรชนิด array ที่เป็น integer ตามข้างต้น มันก็จะจองทั้งหมด 7 ช่องติดกัน โดยแต่ละช่องก็จะมีคุณสมบัติเป็นช่องของ integer ซึ่งอาจจะจอง2ช่อง ใน num[0] จนถึง num[6]
                หากเรียกชื่อตัวแปรที่เป็น array เฉยๆ โดยไม่ใส่ index ให้มันมันก็จะทำการชี้ไปที่ที่อยู่ของตัวแปรนั้นนั่นเอง จากนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคำสั่ง scanf ที่รับตัวแปรที่เป็น array ของ character เราจึงไม่ต้องใส่เครื่องหมาย & อยากจะบอกแค่นี้แหละ แต่ตอนนี้ก็ต้องถือว่าเรามีความรู้เรื่อง array กันบ้างแล้วไม่มากก็น้อย ขอย้ำว่าเป็นเฉพาะตอนรับ array ของ character(หรือในความหมายคือการรับ string นั่นแหละ เนื่องจากในภาษาซีไม่มีตัวแปรชนิด string จึงจำเป็นต้องใช้ตัวแปรที่เป็น array ของ character มาแทน ) เท่านั้นนะ ที่ไม่ต้องใส่ & หน้าตัวแปรในคำสั่ง scanf อย่าเข้าใจผิดหากเป็นตัวแปรชนิดอื่นก็ทำไปตามกฎ
คำสั่ง for loop
                for(ตัวนับ= i;เงื่อนไขที่จะให้ยังทำงานอยู่ใน loop; การเพิ่มหรือการลดตัวนับ)
                {
                                statement ;
                }
                ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนว่านี่คือโครงสร้างของ for loop โดยขอให้สังเกตบรรทัดแรกตรงที่มีคำสั่ง for แล้วให้ดูในวงเล็บ ปรากฎว่าตามรูปแบบมาตรฐานนั้น ในส่วนของวงเล็บหลังคำว่า for จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกก็คือ การกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวนับ อาจจะงงว่าตัวนับที่พูดถึงคืออะไร ใน for loop นั้น จำเป็นจะต้องมีตัวนับอยู่ด้วยเสมอ ซึ่งตัวนับนี้ จะเป็นตัวบอกเราว่า loop ของเรานั้นทำการวนซ้ำมาเป็นรอบที่เท่าไรแล้ว และในส่วนแรกนี้เราจำเป็นจะต้องมีการกำหนด ค่าเริ่มต้นให้กับตัวนับก่อน ในส่วนที่สอง เงื่อนไขที่จะให้ยังทำงานอยู่ใน loop นี้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการกำหนดว่าเมื่อตัวนับมีการวนซ้ำ ถึงจำนวนรอบเท่านั้นเท่านี้ก็จะให้หลุดจาก loop ในส่วนที่สาม การเพิ่มหรือการลดตัวนับ ตรงนี้สำคัญ ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้ ตัวนับของเรามีการเพิ่มค่าหรือลดค่า ในแต่ละรอบของการวนซ้ำเช่นอาจเพิ่มทีละหนึ่ง หรือ เพิ่มทีละ3 เป็นต้นหรืออาจจะลดทีละ 1 หรือลดทีละ 3 ก็แล้วแต่โปรแกรมจะกำหนด หลังจากวงเล็บที่อยู่หลัง for ก็จะมีเครื่องหมาย ปีกกาเพื่อให้เข้าสู่ส่วนของคำสั่ง ที่จะต้องทำหลังจากบรรทัด for ก็มาถึง statement ซึ่งจะเป็นส่วนที่ให้เราเขียนคำสั่งว่า ในแต่ละรอบนั้น เราจะให้โปรแกรมทำงานอะไร ซึ่งก็อาจมีได้หลายคำสั่ง บรรทัดสุดท้ายก็คือ ปีกกาปิดเพื่อจบโครงสร้าง for loop
ตัวอย่าง การบวกเลขตั้งแต่ 1 ถึง 100
                #include<stdio.h>
                main()
                {
                                int i,ans;
                                ans=0;
                                for(i=1;i<=100;i++)
                {              ans=ans+i;
                                }
                                printf("answer is %d",ans);
                }
                ในที่นี้เราทำการกำหนดให้ตัวแปร i เป็นตัวแปรนับ ส่วน ans เป็นตัวแปรที่ใช้เก็บค่าคำตอบ ในบรรทัด for นั้นไม่มีปัญหาอะไรยกเว้น ที่เราเจอ i++ นั่นก็หมายถึง i+1 นั่นเอง คือ ใน loop นี้เราจะทำการเพิ่มตัวนับ i ไปทีละ 1
สมมติว่าหากเราต้องการจะแสดงเฉพาะเลขคี่ที่อยู่ระหว่าง 1 ถึง 100 เราจะทำ
ตัวอย่าง การแสดงเฉพาะเลขคี่ที่อยู่ในช่วงตั้งแต่ 1 ถึง 100
               
#include<stdio.h>
                main()
                {              int i ;
                                for(i=1;i<=100;i=i+2)
                                {              printf("Odd number is %d\n",i);
                                }
                }
นั่นคือเราก็วน loop เหมือนเดิมเพียงแต่ในแต่ละรอบนั้นเราทำการเพิ่มค่า i ไปทีละ 2 ซึ่งเดิมค่า i มีค่าเท่ากับ 1 พอ compiler มา check ว่า 1<=100 นั้นจริงไหม ปรากฎว่าจริงก็ให้ทำงานใน loop ต่อ โดยมีการเพิ่มค่า i=i+2 นั่นหมายความว่าตอนนี้ i มีค่าเป็น 1+2 ก็คือ 3 นั่นเอง ในรอบต่อมาเราก็แสดงค่า 3 ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เราก็จะได้เฉพาะเลขคี่ 1,3,5,7,...,99

สมมติว่าหากเราต้องการจะแสดงเฉพาะเลขคู่ที่อยู่ระหว่าง 1 ถึง 100 เราจะทำอย่างไร
ตัวอย่าง การแสดงเฉพาะเลขคู่ที่อยู่ในช่วงตั้งแต่ 1 ถึง 100
               
#include<stdio.h>
                main()
                {              int i ;
                                for(i=2;i<=100;i=i+2)
                                {              printf("Odd number is %d\n",i);
                                }
                }
เช่นเคยครับไม่ค่อยแตกต่างอะไรกับการ แสดงเฉพาะเลขคี่ แต่จะต่างกันตรงการเริ่มต้นค่าให้กับตัวนับครับ นั่นคือเราทำการเริ่มต้นค่า ตัวนับด้วย 2 นั่นคือตัวแปร i จะมีค่าเริ่มต้นเป็น 2 ในการวน loop รอบแรกครับจากนั้นก็เหมือนเดิมในแต่ละรอบ ค่า i จะถูกเพิ่มทีละ 2 ดังนั้นสุดท้ายเราก็จะได้ 2,4,6,8,10,...,100 ไปตามระเบียบและหากเราต้องการจะแสดงเฉพาะเลขคู่นี่ แต่ต้องการให้แสดงถอยหลัง คือ แสดง 100,98,96,94,...,8,6,4,2 จะทำได้อย่างไร
ตัวอย่าง การแสดงเฉพาะเลขคู่(ถอยหลัง)ที่อยู่ในช่วงตั้งแต่ 1 ถึง 100
                #include<stdio.h>
                main()
                {              int i ;
                                for(i=100;i>=1;i=i-2)
                                {              printf("Odd number is %d\n",i);
                                }
                }
                นั่นคือในบรรทัด for เรากำหนดค่าเริ่มต้นเป็น 100 ที่สำคัญคือเงื่อนไขเดิมเรากำหนดเป็น น้อยกว่าเท่ากับ แต่ในที่นี้เรากำหนดเป็นว่า i มากกว่าเท่า 1 loop จึงจะยังทำงานต่อ และที่สำคัญเช่นเดียวกันคือเราทำการลดค่า i ไปทีละ 2 ก็จะได้ ค่า100,98,96,...,4,2
คำสั่ง while loop
       
มีอีกหนึ่งโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายกับ for loop ที่อธิบายมาข้างต้น นั่นก็คือ while loop ก่อนอื่นต้องขอบอกถึง ความแตกต่าง ที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง for loop กับ while loop เสียก่อน นั่นคือ เราจะเห็นได้ว่า for loop นั้น เราจะมีการบอกถึง ค่าเริ่มต้น ค่าสิ้นสุด ของตัววิ่ง(จากข้างต้นก็คือตัว i นั่นเอง) แต่ while loop นั้นจะบอกแค่เงื่อนไขการจบเท่านั้น ซึ่งถ้าใน for loop นั้น เงื่อนไขการจบก็คือ การที่ตัววิ่ง วิ่งถึงค่าสิ้นสุด ก็จะหลุดออกจาก loop for แต่ while loop ก็มีลักษณะคล้ายกันแต่อาจจะไม่เหมือนกัน สักทีเดียว ลองมาดูกัน
while ( เงื่อนไขที่ทำให้ยังต้องเข้าไปใน loop )
                {              statement ;
                }
เรามักจะแปลได้ว่า "ขณะที่(.....เงื่อนไข......ยังเป็นจริงอยู่) ก็เข้าไปทำคำสั่งหลังเครื่องหมาย { "
ต่อไปนี้จะขอสร้างตัวอย่างขยายข้อความข้างบนหน่อย โดยเราจะสั่งให้มีการบวกเลขตั้งแต่ 1-100 เหมือนตัวอย่างใน for loop นั่นแหละ
                #include<stdio.h>
                main()
                {              int i , ans;
                                i=1;          /* initial variable */
                                ans=0;
                                while ( i <= 100 )
                                {              ans = ans + i ;
                                                i=i+1;      /* increase variable */
                                }
                                printf("answer is %d",ans);
                }
               
จากตัวอย่างนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ การกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปร i , ans อันนี้สำคัญมากเราจะต้องกำหนดไว้เสมอ หากเราไม่กำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มต้น โปรแกรมจะไปหยิบค่าอะไรก็ไม่รู้จากใน memory มาเก็บไว้ในตัวแปร i และ ans ซึ่งจะทำให้โปรแกรมของเราผิดพลาดทันที ส่วนใน while loop นั้นอธิบายได้ง่ายๆ ว่า ขณะที่ i ยังน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 อยู่ ก็ให้ทำคำสั่งหลังเครื่องหมาย { นั่นก็คือ ans=ans+i และจุดที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง ไม่แพ้การ กำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปร นั่นก็คือ บรรทัด i=i+1 ซึ่งเป็นการบอกว่าให้เพิ่มค่า i ไปทีละ 1 ในทุกๆรอบ หากขาดบรรทัดนี้ไป loop ของเรา จะวิ่งไม่หยุดหรือที่เรียกกันว่า infinite loop นั่นเอง เพราะหากเราไม่เพิ่มค่า i แล้ว ค่า i ตลอดโปรแกรมก็จะยังคงเท่ากับ 1เหมือนที่เรากำหนดไว้ตอนเริ่มต้น ดังนั้นเมื่อ compiler มาตรวจดูเงื่อนไขของ while loop ก็พบว่า ยังเป็นจริงอยู่ นั่นก็คือ 1 ยังคงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 อยู่วันยังค่ำ นั่นก็คือ loop นี้จะวิ่งไปเรื่อยๆ ไม่มีวันหยุดนั่นเอง
ภาษาซี มีลักษณะเด่น(ข้อดี) ดังนี้
  - เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาขึ้นใช้งานเพื่อเป็นภาษามาตรฐานที่ไม่ขึ้นกับโปรแกรมจัดระบบงานและไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์
  - เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่อาศัยหลักการที่เรียกว่า "โปรแกรมโครงสร้าง" จึงเป็นภาษาที่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมระบบ
  - เป็นคอมไพเลอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ให้รหัสออบเจ็กต์สั้น ทำงานได้รวดเร็ว เหมาะกับงานที่ต้องการ     ความรวดเร็วเป็นสำคัญ
  - มีความคล่องตัวคล้ายภาษาแอสแซมบลี ภาษาซีสามารถเขียนแทนภาษาแอสแซมบลีได้ดี ค้นหาที่ผิดหรือ แก้โปรแกรมได้ง่าย ภาษาซีจึงเป็นภาษาระดับสูงที่ทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ
  - มีความคล่องตัวที่จะประยุกต์เข้ากับงานต่างๆ ได้เป็นอย่างดี การพัฒนาโปรแกรม เช่น เวิร์ดโพรเซสซิ่ง สเปรดชีต ดาตาเบส ฯลฯ มักใช้ภาษาซีเป็นภาษาสำหรับการพัฒนา
  - เป็นภาษาที่มีอยู่บนเกือบทุกโปรแกรมจัดระบบงาน มีในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 8 บิต ไปจนถึง 32 บิต เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม
  - เป็นภาษาที่รวมข้อดีเด่นในเรื่องการพัฒนา จนทำให้ป็นภาษาที่มีผู้สนใจมากมายที่จะเรียนรู้หลักการของภาษา  และวิธีการเขียนโปรแกรม  ตลอดจนการพัฒนางานบนภาษานี้
ข้อเสีย
 - เป็นภาษาที่เรียนรู้ยาก
 - การตรวจสอบโปรแกรมทำได้ยาก
 - ไม่เหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการออกรายงานที่มีรูปแบบซับซ้อนมากๆ
ตัวอย่างโปรแกรม
                #include<stdio.h>                   /* This is my first program. */
                main()
                {              clrscr();
                                printf("Hello,world \n");
                                printf("Press any key to stop \n");
                                getch();
                }              /*end of main*/
จากตัวอย่างข้างต้นเราสามารถอธิบายได้ดังนี้
                ให้สังเกต ณ บรรทัดแรกที่เขียนว่า #include<stdio.h> บรรทัดนี้กำลังจะบอกเราว่าให้เรานั้นไปเอาไฟล์ที่มีสกุล .h นั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมเรา ซึ่งส่วนนี้ในทุกโปรแกรมจะต้องมี ส่วนไฟล์ที่เราไปเอามานั้นคือ header file ที่มีชื่อว่า stdio.h ถ้าจะจำกันให้ง่ายนั้นมันย่อมาจาก standard Input Output คือเป็นไฟล์ที่ใช้จัดการกับการ รับค่า และ แสดงค่าของโปรแกรม จากโครงสร้างในส่วนต้นนี้คือก่อนที่จะถึงตรงส่วนของคำว่า main() เราจะเรียกส่วนนี้ว่า Preprocessor
                บรรทัดถัดมาเขียนว่า /*........*/ ในส่วนนี้เราเรียกว่าส่วนของการ comment คือให้เราเขียนข้อความอะไรก็ได้ลงไปซึ่ง อาจจะเป็นการอธิบายโปรแกรมเป็นต้น ในที่นี้เราเขียนว่า This is my first program คือเป็นการบอกว่านี่คือโปรแกรมแรกของฉัน
                บรรทัดถัดมาเขียนว่า main() ข้อความนี้เขียนเพื่อบอกให้รู้ว่าหลังจากคำนี้จะมีเครื่องหมาย { และจะจบด้วยเครื่องหมาย } ข้อความหรือคำสั่งที่อยู่ระหว่างเครื่องหมาย { และ } ทั้งหมดนั้นเป็นคำสั่งที่ใช้ในส่วนของ main โปรแกรม
                ในทุกโปรแกรมจะต้องมีส่วนของ main ปรากฎอยู่เพราะเมื่อเราสั่ง compile โปรแกรม ตัว compile จะทำการวิ่งไปหา main ทุกครั้งเสมอC a collection of functions one of which must be main() function คำกล่าวนี้บอกเราว่า การโปรแกรม C ประกอบไปด้วย function ซึ่ง function หนึ่งที่จะต้องมี ก็คือ ฟังก์ชัน main()
                ตอนนี้เราได้เข้ามาสู่ main() เรียบร้อยแล้ว บรรทัดแรกใน main function คือ clrscr(); สังเกตได้ว่าข้อความนี้จบลงด้วย เครื่องหมาย semicolon แสดงว่าข้อความนี้เป็นคำสั่ง และขอบอกไว้เลยว่าคำสั่ง clrscr(); นี้คือ คำสั่ง clear screen นั่นเองคือ เมื่อ โปรแกรมได้ run มาถึงส่วนนี้และได้ทำคำสั่งนี้หน้าจอที่ปรากฎจะถูก clear เพื่อรอทำคำสั่งต่อไป
                คำสั่งถัดมาคือ print("....ข้อความ..... \n"); ความจริงแล้วคำสั่ง printf(อ่านว่า พริ้นซ์-เอฟ) มีอยู่หลายรูปแบบแต่เดี๋ยวเราค่อยๆดู กันไปก่อนในแบบแรกนี้คือว่า คำสั่งนี้จะทำการพิ่มพ์ ข้อความที่ปรากฎอยู่ระหว่างเครื่องหมาย " และ " ออกมาบนหน้าจอในที่นี้จะ พิมพ์คำว่า Hello,world ปรากฎขึ้นบนหน้าจอ ส่วนเครื่องหมาย \n ที่ปรากฎอยู่นั่นเป็นเครื่องหมาย tab ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่นเดียวกันในที่นี้ \n หมายความว่า หลังจากพิมพ์ข้อความแล้วให้ cursor ย้ายไปขึ้นบรรทัดใหม่
                บรรทัดถัดมาก็จะมีความหมายเช่นเดียวกับบรรทัดแรกคือ จะพิมพ์คำว่า Press any key to stop จากนั้น cursor ก็จะวิ่งไปขึ้นบรรทัดใหม่เพราะตัว tab \n ที่ผ่านมาคือคำสั่ง print f จะเห็นได้ว่าเป็นคำสั่งประเภท output คือสั่งพิมพ์ออกทางหน้าจอ ต่อมาจะมีคำสั่ง Input บ้าง นี่คือ คำสั่ง getch(); เป็นคำสั่งสำหรับรับค่าจากทาง keyboard เข้ามา ซึ่งจริงๆแล้วรูปแบบของคำสั่งก็มีหลายรูปแบบเช่นกัน แต่ในที่นี้ ที่เราจะต้องใช้คำสั่งนี้ก็เพื่อว่า เมื่อเราพิมพ์ข้อความทั้งสองข้างต้นไปแล้วให้ผู้ใช้ กดปุ่มใดๆก็ได้เพื่อจบโปรแกรม
                บรรทัดต่อมามีเครื่องหมาย } เป็นการแสดงว่าจบโปรแกรมในส่วนของ main ส่วนข้อความ /* end of main */ ที่ปรากฎก็คือ comment เช่นเดียวกับที่ได้อธิบายไปข้างต้นแล้ว เราจะสังเกตได้ว่า เมื่อมีเครื่องหมาย ปีกกาเปิด ก็ต้องมีเครื่องหมาย ปีกกาปิด เสมอ และอยู่กันเป็นคู่ๆด้วย
 
 
ฝึกพื้นฐานภาษาซี (C) 01 : Intro และ เครื่องมือที่จำเป็น (New Version)
 
 
อยากศึกษาเพิ่มกด"ติดตาม"
 

 
 
ที่มา:-http://titlenuchjara.blogspot.com/p/blog-page.html
        -https://th.wikipedia.org/wiki
        -https://sites.google.com/site/bbmm2553/prawati-khwam-pen-ma-khxng-phasa-si
        -http://guru.sanook.com/6394/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น